ต้นทุนการนำเข้า Land Cost Sheet
Landed Cost หรือ ต้นทุนแฝง คือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวเนื่องจากการนำเข้าสินค้า ซึ่งจะพบในกิจการซื้อมาขายไป และนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ซึ่งการนำเข้าสินค้านั้น ไม่ได้มีเพียงมูลค่าของสินค้าเท่านั้น แต่ขั้นตอนของการนำเข้าแตต่ละขั้นตอนนั้น ต่างมีค่าใช้จ่ายอื่นๆที่แฝงไว้ เช่น ค่าขนส่งเข้า ค่าธรรมเนียม หรือ ค่าศุลกากร เป็นต้น ซึ่งกิจการจำเป็นต้องนำค่าใช้จ่ายเหล่านี้มีคิดเป็นต้นทุนของสินค้านั้นด้วย หรือเรียกว่า ต้นทุนส่วนเพิ่ม
ต้นทุนแฝงมีอะไรบ้าง
ต้นทุนการขนส่ง
1.ค่าขนส่งขาเข้า หรือค่า Shipping
คือ ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการขนส่งสินค้าเพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อ ซึ่งผู้ซื้อจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เอง ในทางบัญชีนั้น กิจการต้องมีการบันทึกรมค่ขขนส่งเป็นต้นทุนของสินค้าด้วย ไม่ว่าจะเป็นการขนส่งภายในประเทศหรือระหว่างประเทศ ซึ่งการคิดเงินจะคิดเป็นครั้งละ ขึ้นอยู่กับประเภทและปริมาณของสินค้า และรวมถึงผู้ให้บริการแต่ละรายจะใชช้เกณฑ์ที่ตต่างกันไป
สามารถศึกษาประเภทของการคิดค่าขนส่งได้จากประกาศกรมสุลกากร http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/ … /078/9.PDF
2.ค่าขนส่งและประกันภัย
คือ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการประกันสินค้าที่ขนส่ง ซึ่งการคิดอัตรา จะขึ้นอยู่กับประเภทของประกัน และผู้รับสินค้าสามารถทำประกันกับบริษัทประกันได้ด้วย จึงทำให้อัตราที่ใช้ต่างกัน (ซึ่งข้อดีของการทำประกันกับบริษัทประกัน คือ สามารถเคลมสินค้าได้)
ต้นทุนภาษี
1.ค่าอากรขาเข้า
คือ ภาษีนำเข้าสนค้าที่จะต้องจ่ายให้แก่ศุลกากร มีหลายอัตรา ( 5%, 10%, 20% หรือ 30% ขึ้นอยู่กับประเภทสินค้านั้นๆนะคะ)
การคำนวนอากรขาเข้าผ่านเว็บไซต์ศุลกากร
http://itd.customs.go.th/igtf/viewerImp … param=main
2.ค่าภาษีมูลค่าเพิ่ม
โดยการคิดภาษีมูลค่าเพิ่มนั้น (VAT) คิดในอัตราร้อยละ 7 เพราะถือเป็นการซื้อสินค้าปกตติ
ต้นทุนดำเนินการ
1.ค่าธรรมเนียมอื่นๆ
คือ ค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม ที่นอกเหนือจากที่ศุลกากรบังคับว่าต้องจ่ายเพื่อช่วยในการดำเนินการรับ-ส่งสินค้ากัน เช่น ค่านำรถเข้าตามประเภทของรถ (รถกระบะ , รถ 6 ล้อ เป็นตต้น) โดยขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของผู้ให้บริการด้วย
การคำนวณอากรขาเข้า แบบพื้นฐาน
1. ต้องทราบต้นทุนสินค้าที่ปราศจากค่าใช้จ่ายส่วนอื่นๆ สามารถดูมูลค่าสินค้าได้จากใบสั่งซื้อได้เลย
2. การระบุประเภทของประกันภัยที่ทำ
- แบบประกันเพื่อออกสินค้า —> จะใช้อัตราร้อยละ 1 คิดจากต้นทุนสินค้า(ข้อ1)
- แบบทำประกันภัยกับบริษัทประกัน —> จะใช้เกณฑ์ตามบริษัทประกันระบุ
3. การคิดค่าขนส่งเข้า ซึ่งจะะขึ้นอยู่กับเกณฑ์ของผู้ให้บริการขนส่งนั้นๆ
4. รวมมูลค่าของค่าใช้จ่ายทั้งหมดในข้อ 1,2,3 และ 4 เพื่อเรียมคำนวณอากราเข้า
5. นำมูลค่าทั้งหมดที่ได้จากข้อ 4 คูณด้วยอัตราอากรขาเข้า ซึ่งขขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้านั้นๆ
6. การคิดภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยนำมูลค่าที่ได้ในข้อ 4 และ 5 รวมกันทั้งหมด จากนั้นคูณด้วยอัตราร้อยละ 7 เพื่อหา VAT
ถ้ารวม VAT และ อากรขาเขข้าในข้อ 5 และ 6 = อากรขาเข้าทั้งหมดที่ต้องจ่าย(ภาษี)
7. จากนั้นก็รวมค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอื่นๆ ก็จะได้ตต้นทุนรวมของสินค้าที่นำเข้า
ซึ่งจะเห็นได้ว่า การนำเข้าสินค้าในแต่ละครั้งนั้น กิจการจะเกิดภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นหลายรายการ ทำให้กิจการต้องนำมารวมเป็นต้นทุนของสินค้า และส่งผลให้สินค้านำเข้านั้นมีมูลค่าหรือราคา ที่สูงกว่าสินค้าที่ผลิตภายในประเทศ การทราบถึงการคำนวณต้นทุนส่วนเพิ่มเหล่านี้ จะช่วยให้กิจการสามารถวางแผนจัดการต้นทุนได้ ไม่ว่าจะเรื่องของการเลือกผู้ให้บริการ การทำประกันสินค้ากับบริษัทประกัน หรือแม้แต้การเลือกรถที่ใช้ในการขนส่ง เพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนสินค้าได้ เพื่อการตั้งราคาสินค้า ให้เป็นที่ยอมรับของตักิจการเองและตัวของลูกค้าด้วย