• หน้าแรก
  • หลักสูตร
  • บทความ
  • ร้านค้า
  • ติดต่อเรา
    มีคำถามเกี่ยวกับ odoo ?
    (02) 4302475
    info@odoothaidev.com
    Login
    Odoothaidev - We are Odoo professional in Thailand
    • หน้าแรก
    • หลักสูตร
    • บทความ
    • ร้านค้า
    • ติดต่อเรา

      NodeJS

      • บ้าน
      • บล็อก
      • NodeJS
      • Node.js คืออะไร ? + สอนวิธีใช้

      Node.js คืออะไร ? + สอนวิธีใช้

      • โพสโดย admin
      • หมวดหมู่ NodeJS
      • วันที่ กรกฎาคม 26, 2019
      • ความคิดเห็น 0 ความคิดเห็น
      • แท็ก nodejs

      หากจะพูดถึง Node.js หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินกันมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่ทราบว่ามันคืออะไร และมีประโยชน์อะไรกับ front-end engineer อย่างพวกเรา

      Node.js คืออะไร ?

      สำหรับคำถามที่ว่า Node.js คืออะไร หากจะตอบแบบสั้นๆ มันก็คือ การเขียนโปรแกรมด้วย JavaScript ที่ฝั่ง server แทนที่ปกติแล้วจะเป็นฝั่ง client แต่จริงๆ แล้ว Node.js นั้นจะรวมไปถึง environment ต่างๆ ที่ทำขึ้นเพื่อให้เราเขียน JavaScript เอาไว้ที่ฝั่ง server ได้ด้วย(webserver,  runtime และอื่นๆ) เรียกได้ว่ามันก็คือ platform นั่นเอง

      แล้ว Node.js เกี่ยวอะไรกับเรา ?

      เนื่องจาก Node.js นั้นขึ้นชื่อในด้านความเร็วของการประมวลผล จึงทำให้ application ที่เขียนด้วย Node.js นั้นมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมไปถึง application ที่จะช่วยให้การพัฒนาเว็บไซต์เป็นไปอย่างราบรื่นมากขึ้นด้วย โดยบทความนี้จะขอเน้นไปที่วิธีการนำ application เหล่านั้นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำเว็บไซต์

      วิธีติดตั้ง Node.js

      การจะนำ application ที่เขียนด้วย Node.js มาใช้งาน เราจะต้องติดตั้ง Node.js เสียก่อน => Download

      node.js download

      ให้เราเลือก download แบบ installer มาก็ได้ เพราะขั้นตอนการติดตั้งจะไม่ยุ่งยากเท่าไรนัก

      nodejs installation

      เมื่อติดตั้งเสร็จแล้ว ให้เราเปิด Command-line Interface(Command Prompt, Terminal) ขึ้นมา แล้วลองพิมพ์คำสั่งนี้ดู

      1
      node -v

      หากเลขเวอร์ชันของ Node.js แสดงขึ้นมา ก็แปลว่าเราได้ติดตั้ง Node.js เรียบร้อยแล้ว

      รู้จักกับ npm

      อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วว่า เราไม่ได้จะมาเขียน application ขึ้นมาใช้เอง แต่เราจะเลือกหยิบ application ที่มีคนเขียนเอาไว้ดีแล้วมาใช้เลยต่างหาก ในขั้นตอนที่ว่านี้ เราจะทำผ่านสิ่งที่เรียกว่า “npm”

      npm นั้นจะถูกติดตั้งมาพร้อมกับ Node.js เพื่อทำหน้าที่จัดการ package เสริมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้ง application หรือการติดตั้ง module ต่างๆ ที่เป็น dependency ของ application เพียงแค่เราระบุชื่อ package ที่ต้องการจะใช้ มันก็จะไปตรวจสอบชื่อ package นั้นใน registry เมื่อพบแล้ว มันก็จะดาวน์โหลด package นั้นๆ มาให้เราทันที นอกจากนั้น การนำ application ที่เราเขียนเองไปเพิ่มไว้ใน registry ของ npm ก็สามารถทำผ่าน npm ได้เช่นกัน

      สำหรับวิธีใช้ npm นั้นก็ไม่มีอะไรยากเลย เพียงแค่เราเปิด Command-line Interface ขึ้นมา แล้วเข้าไปยัง path ที่ต้องการจะติดตั้ง(ที่อยู่ของ project เรา) จากนั้นให้พิมพ์คำสั่งนี้

      1
      npm install ชื่อเพคเกจ

      เพียงเท่านี้ package ที่เราระบุก็จะถูกติดตั้งเรียบร้อยแล้ว

      แล้วเราจะหา package ได้จากไหน ?

      ให้เราลองเข้าไปดู package ที่น่าสนใจได้จาก official website ของ npm ได้เลย ที่ npmjs.org โดยทางเว็บไซต์จะมีหน้าจัดอันดับ package ที่มียอดดาวน์โหลดสูงสุดเอาไว้ด้วย ทำให้เรารู้ว่าในขณะนี้ คนกำลังนิยมใช้ package อะไรกันอยู่บ้าง

      สำหรับวิธีใช้งานของแต่ละแพคเกจนั้นจะแตกต่างกันออกไป โดยเราสามารถอ่านวิธีใช้งานพื้นฐานของ package นั้นๆ ได้ที่หน้ารายละเอียดของ package ที่ทาง npmjs.org ได้จัดทำไว้ แต่ถ้ายังไม่ละเอียดพอ เราก็สามารถเข้าไปอ่านคู่มือการใช้งานได้ที่เว็บไซต์หลักของ package นั้นๆ

      แนะนำ package สำหรับ Front-end Engineer

      • bowerเป็น package manager ที่สร้างโดย Twitter เอาไว้สำหรับติดตั้ง/อัพเดท 3rd-party ต่างๆ(เช่นพวก jQuery plugin) ได้ในการรันคำสั่งเพียงครั้งเดียว ทำให้เราไม่ต้องไปเข้าทีละเว็บแล้วดาวน์โหลดมาอีกต่อไป
      • gulpเอาไว้รัน task ต่างๆ เพื่อที่จะได้ไม่ต้องมาทำเองอีกต่อไป เราสามารถสั่งให้คอมไพล์ไฟล์ Sass ในทันทีที่มีการแก้ไข หรือแม้แต่สั่งให้รีเฟรช Web Browser ทุกครั้งที่มีการแก้ไข HTML เป็นต้น

      เมื่อเราได้ลองใช้ทั้ง bower และ gulp แล้ว ก็จะเห็นว่า Node.js นั้น ช่วยเราได้มากเลยจริงๆ หากเราศึกษา Node.js ในระดับที่ลึกขึ้นไปอีก เราก็จะพบว่า Node.js นี่มันสามารถนำไปใช้สร้างเว็บไซต์ทั้งเว็บขึ้นมาได้เลย แต่ถ้าใครลองศึกษาแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจ หรือคิดว่าไม่ใช่ทาง เราอาจจะไม่ต้องไปถึงขั้นที่สามารถเขียน app ของ Node.js ขึ้นมาใช้เองก็ได้ ขอแค่เรารู้วิธีนำ package ต่างๆ ที่คนอื่นเค้าเขียนเอาไว้ดีแล้ว มาใช้ให้เกิดประโยชน์กับงานของเราก็ถือว่าโอเคแล้ว

      http://www.siamhtml.com/introduction-to-node-js/

      แท็ก:nodejs

      • Share:
      อวตารของผู้เขียน
      admin

      โพสต์ก่อนหน้า

      รู้จักกับ Odoo
      กรกฎาคม 26, 2019

      โพสต์ถัดไป

      สร้าง API ง่ายๆ ด้วย Node.js และ Express
      กรกฎาคม 26, 2019

      คุณอาจชอบ

      อัพเดท NodeJS ง่ายเกินไป…บน Ubuntu
      8 ตุลาคม, 2022

      พอดีว่าจะอัพเดท Ghost blog แล้วมันให้เรา …

      เข้าใจ NodeJS ง่ายๆ สำหรับคนทำเว็บ
      26 กรกฎาคม, 2019

      และ JavaScript ไม่ได้อยู่บนหน้าเว็บอีกต่ …

      [Beginner] Node.js คืออะไร
      26 กรกฎาคม, 2019

      สวัสดีครับ วันนี้ก็ถึงเวลาที่มีโอกาสได้เ …

      ทิ้งคำตอบไว้

      อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

      ค้นหาบทความ

      หมวดหมู่

      หมวดหมู่

      • Accounting
      • Adobe XD
      • API
      • Blog
      • Business
      • Buttons
      • CRM
      • Custom Fields
      • Design / Branding
      • Django
      • Ecommerce
      • ERP
      • ERP Flow
      • Express
      • Flectra
      • Form View
      • Frontend
      • Github
      • Github
      • Grant Chart
      • Header
      • iReport
      • Jasper Server & Server
      • Jaspersoft Studio
      • Java
      • JSON-RPC
      • Lazada
      • Linux
      • MLM
      • MRP
      • Nignx Proxy
      • NodeJS
      • Odoo 10
      • Odoo 12 Module
      • Odoo 13
      • Odoo 14 Development
      • Odoo 16
      • Odoo 8
      • Odoo 9
      • Odoo API
      • Odoo Certification
      • Odoo Developer
      • Odoo Ebook
      • Odoo Enterprise
      • Odoo ERP
      • Odoo Event
      • Odoo Implement
      • Odoo Inventory
      • Odoo Report
      • Odoo V15
      • Open Source
      • Open-office
      • OpenERP 7.0
      • PhantomJS
      • Postgres SQL
      • Programming Language
      • Project Management
      • Python
      • Python3
      • Qweb
      • Reporting ระบบรายงาน
      • RML Report
      • Search View and Filters
      • Social Network
      • Statusbar
      • Ubuntu
      • Uncategorized
      • Voip & Call Center
      • Warehouse Management
      • WMS
      • Woocommerce
      • Workflow
      • XML-RPC
      • การ Implement
      • การเก็บข้อมูล Pre-Requirement
      • การเตรียมตัวเพื่อใช้งาน erp
      • ความรู้ด้านการตลาด CRM
      • ธีมเว็บไซต์ Odoo
      • ธุรกิจบริการ
      • ธุรกิจประเภทจัดอบรมสัมมนา
      • ธุรกิจสิ่งพิมพ์
      • นักพัฒนา
      • ประเภทธุรกิจที่เหมาะกับ Odoo
      • ระบบบัญชี
      • ระบบเคลม
      • ลิขสิทธิ์ – License
      Introduction LearnPress – LMS plugin

      Introduction LearnPress – LMS plugin

      Free
      From Zero to Hero with Nodejs

      From Zero to Hero with Nodejs

      Free
      Learn Python – Interactive Python

      Learn Python – Interactive Python

      $69.00

      บทความล่าสุด

      V16 Planned Date of Tasks are invisible.
      12ก.พ.2023
      Odoo Implement Methodology
      29พ.ย.2022
      Odoo Enterprise Subscription Agreement
      29พ.ย.2022
      (02) 430-2475
      info@odoothaidev.com
      Facebook Twitter Google-plus Pinterest

      Odoothaidev by OdooTeaM.

      • Privacy
      • Terms
      • Sitemap
      • Purchase

      เข้าสู่ระบบด้วยบัญชีเว็บไซต์ของคุณ

      ลืมรหัสผ่าน?

      Click to Copy